Commander Compass Lite

ตั้งใจอยากจะหา Application บนโทรศัพท์มือถือ ที่สามารถแสดงค่าของระบบพิกัดต่างๆ ได้บนแผนที่ ไม่ว่าจะเป็นระบบพิกัดภูมิศาสตร์ (Latitude, Longitude) ระบบพิกัด UTM และระบบพิกัดทหาร (MGRS) พร้อมๆ กัน ซึ่งก็ไปเจอกับ Commander Compass Lite บน iPhone ถ้าเดาจากชื่อ Application ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับระบบพิกัดเท่าไร คงเป็นการแสดงทิศทางตามการใช้งานเข็มทิศทั่วไปๆ แต่ก็ติดใจอยู่กับคำว่า Commander นี่แหละ ซึ่งก็คิดว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับระบบพิกัดอยู่บ้าง

ก่อนจะดาวน์โหลด มองไปที่ส่วน Details ของ Application เห็นมีการแสดงค่าพิกัดภูมิศาสตร์และพิกัดทหาร อยู่มุมด้านขวาบน เลยตัดสินใจดาวน์โหลด เพราะมีการแสดงค่าพิกัดตามที่ต้องการบนแผนที่แน่นอน

Commander Compass Lite

หลังจากดาวน์โหลดและติดตั้งเสร็จเรียบร้อย ไม่รอช้า เปิด Application ขึ้นมาใช้งานทันที ความรู้สึกแรกที่เห็นหน้าแผนที่หลัก ถึงกับงงอยู่พักหนึ่ง เพราะมีเข็มทิศอยู่กลางหน้าจอและซ้อนอยู่บนข้อมูลภาพถ่ายฯ ด้วย ในขณะเดียวกันตรงกลางเข็มทิศก็จะมีเครื่องมือวัดมุมในแนวดิ่ง ซึ่งดูแล้วจะคล้ายๆ กับลูกน้ำวัดระดับ นอกจากนั้นทั้ง 4 มุมของ Application ยังมีตัวเลขต่างๆ ที่แสดงถึง วันที่ เวลา ค่าวัดมุม ค่าพิกัด ค่าความคลาดเคลื่อน ระดับความเร็ว ระยะทางถึงเป้าหมาย และมาตราส่วนแผนที่

ด้วยความอยากรู้อยากเห็นก็ลองกดโน้นกดนี่ ลองเล่นทุกสิ่งทุกอย่างที่สามารถทำได้ เลยรู้ว่า Application นี้ไม่ธรรมดาจริงๆ ส่วนใหญ่คนที่ดาวน์โหลดไปใช้งาน จะให้ Reviews 5 ดาว ซึ่ง Application เหมาะกับการใช้งานสำหรับคนที่ชอบเดินทาง โดยเฉพาะงานในส่วนของทหาร (ตามชื่อ Application) นี่ใช่เลย เพราะมีฟังก์ชั่นที่ใช้งานในเรื่องทิศทาง มุม พิกัด มากมายหลายอย่าง และนี่เป็นเพียงเวอร์ชั่น Lite ซึ่งการใช้งานทั่วไปก็เพียงพอแล้ว ส่วนตัวจริงคงจะมีฟังก์ชั่นเพิ่มมากขึ้นกว่านี้อีกและต้องซื้อในราคา 3.99 เหรียญ

สิ่งที่ผมสนใจใน Application นี้มี 2 ส่วน คือ การแสดงระบบพิกัดได้หลากหลายบนแผนที่ และสามารถ Convert ค่าพิกัดได้ ความจริงในหลาย Application บนโทรศัพท์มือถือ สามารถแสดงและ Convert ค่าพิกัดได้ แต่ที่เห็นจะเป็นเฉพาะระบบพิกัดภูมิศาสตร์ และ UTM ซึ่งก็มีความหลากหลายของการแสดงรูปแบบต่างๆ ได้ไม่เท่าตัวนี้ และที่สำคัญก็คือ Application เหล่านั้นไม่มีระบบพิกัดทหาร เหมือนที่ตัวนี้มีด้วย

ใครสนใจ Application ก็สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้เลยครับ

ในส่วนของผมจะขอนำเสนอ Application เบื้องต้น เฉพาะ 2 ส่วน ตามที่ได้กล่าวไว้เท่านั้นครับ

ในหน้าแผนที่หลัก

1. กรอบสีแดง มุมขวาบน : แสดงค่าของระบบพิกัดต่างๆ 2 ระบบ ตามที่เราได้เลือกไว้

2. กรอบสีเหลือง มุมขวาล่าง : บันทึกรูปภาพหน้าแผนที่

3. กรอบสีชมพู มุมขวาล่าง : กำหนดและจัดการพื้นที่เป้าหมาย

4. กรอบสีฟ้า มุมขวาล่าง : กำหนดการตั้งค่า Application ซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนระบบพิกัด และการ Convert ค่าพิกัด

Main Screen

กำหนดและจัดการพื้นที่เป้าหมาย (ตามข้อ 3)

Destinations

กำหนดการตั้งค่า Application ซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนระบบพิกัด และการ Convert ค่าพิกัด (ตามข้อ 4)

Settings & Calibration

ตั้งค่า Application

Settings

ระบบพิกัดภูมิศาสตร์ ที่มีให้เลือกแสดงได้อย่างหลากหลาย

Geographic Coordinates

ระบบพิกัด UTM และ MGRS ที่มีให้เลือกแสดงได้อย่างหลากหลาย

Grid Coordinates

การ Convert ค่าพิกัด

Converter

Cool Locations on Google Maps

การใช้งานโปรแกรม Google Maps เพื่อดูสถานที่สำคัญต่างๆ บนข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียม อาจจะเป็นเรื่องปกติธรรมดาไปสำหรับในปัจจุบัน ซึ่งทุกคนสามารถเข้าถึงกันได้อย่างง่ายดายทั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ อยากเห็นสถานที่อะไร อยากรู้ว่าอยู่ที่ไหน อยากดูว่าเดินทางไปยังไง ก็หยิบโทรศัพท์ขี้นมาเปิดโปรแกรม Google Maps พิมพ์ชื่อสถานที่ที่ต้องการ โปรแกรมก็จะค้นหาและแสดงผลขึ้นมาให้ทันที

ใครจะคิดว่าบนข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมที่บินถ่ายภาพต่างๆ บนโลกที่เราอยู่นั้นจะมีเฉพาะสถานที่หรือพื้นที่ที่ปกติธรรมดาเท่านั้น แต่ข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมยังสามารถถ่ายภาพสถานที่ เหตุการณ์ และปรากฏการณ์ต่างๆ ที่ไม่ค่อยได้เห็นหรือเกิดขึ้นบ่อยๆ บนโลกได้ด้วย จะว่าเป็นความบังเอิญของการถ่ายภาพก็ว่าได้

แล้วสถานที่ เหตุการณ์ และปรากฏการณ์ต่างๆ เหล่านั้นอยู่ที่ไหนบนข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมบ้างละ? จะใช้คำค้นหาว่าอะไรดี?

ไปเจอ Application บน iPhone ที่ชื่อ Cool Locations on Google Maps ที่ได้รวบรวมสถานที่ เหตุการณ์ และปรากฏการณ์ต่างๆ เหล่านั้นเอาไว้จำนวน 126 แห่ง แบ่งออกเป็น 8 กลุ่ม ได้แก่ Sightseeing, Accidents, Strange, Writing, Cool, Mystery, USA, และ Landmarks

Cool Locations

แต่เวอร์ชั่นที่ให้ดาวน์โหลดมาใช้งานจะเป็นแบบ Lite คือจะแสดงเฉพาะภาพถ่ายของเหตุการณ์ในกลุ่มที่เป็น Accidents ซึ่งเป็นภาพถ่ายของอุบัติเหตุต่างๆ จำนวน 11 แห่ง เช่น เรือคว่ำ เครื่องบินตก รถชน เป็นต้น ส่วนการใช้งานในกลุ่มอื่นๆ จะถูกล็อคไว้สำหรับการซื้อในราคา 0.99 เหรียญ

Lite

สำหรับใครที่สนใจจะดูภาพถ่ายในกลุ่มอื่นๆ ว่าจะเป็นยังไงบ้าง จะ Cool จริงหรือเปล่า ก็สามารถจ่ายเงินซื้อได้ในราคา 0.99 เหรียญ หรือประมาณ 35 บาท ซึ่งก็จะปลดล็อคกลุ่มทั้งหมดที่เหลือ

purchase

การใช้งานโปรแกรมก็ไม่ยากครับ แค่เลือกกลุ่มที่สนใจก่อน หลังจากนั้นภาพถ่ายของสถานที่ เหตุการณ์ และปรากฏการณ์ต่างๆ เหล่านั้น จะแสดงขึ้นมาอยู่ตรงกลางจอพอดี บางภาพอาจจะต้องซูมเข้าไปใกล้ๆ เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนเพิ่มมากขึ้น ถ้าอยากจะดูภาพต่อไปก็กดปุ่มลูกศรที่อยู่ด้านบนขวาไปเรื่อยๆ ถ้าอยากกลับไปดูภาพก่อนหน้านั้นก็กดปุุ่มลูกศรที่อยู่ด้านบนซ้าย และถ้าอยากไปดูกลุ่มอื่นๆ ก็ไปกดที่ปุ่ม CATEGORIES ด้านล่าง

ตัวอย่างภาพถ่ายในกลุ่ม Accidents

เครื่องบินตก

Accidents 1

เครื่องบินตก

Accidents 2

เรือคว่ำ

Accidents 3

เรือคว่ำ

Accidents 4

รถชน

Accidents 4

Assist Maps : เครื่องมือช่วยในการใช้งานแผนที่บน Smart Phone

Assist Maps

ไม่รู้ว่าขึ้นชื่อเรื่องไว้จะตรงกับสิ่งที่อยากนำเสนอหรือเปล่า เอาเป็นว่าจริงๆ แล้วมันคือ App ทางด้านแผนที่ตัวหนึ่งใน Smart Phone ระบบ IOS ซึ่ง App นี้ปล่อยครั้งแรกเมื่อ 11 ก.พ. 2014 ถึงวันนี้อัพเดตมาแล้ว 6 ครั้ง เป็นเวอร์ชั่น 1.0.6 ซึ่งพื้นฐานของ App แผนที่นี้ เป็น Google Map API เจ้าแห่งแผนที่ในปัจจุบัน ความจริงใน App Store ก็มี App ประเภทนี้อยู่เยอะแล้วมากมายหลายร้อยตัว เท่าที่ผมเคยใช้งาน App กลุ่มนี้มาประมาณ 12 ตัว ผมว่าตัวนี้ตอบโจทย์ให้กับตัวเองมากที่สุด ใช้งานง่าย ทำงานเร็ว และ Interface ไม่ซ้บซ้อน ซึ่งมันสามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้

1. ปักหมุด
Pin

2. วัดระยะทาง
Measurement

3. แสดงค่าพิกัดภูมิศาสตร์
Coordinate

4. ดู Street View
Street View

5. แสดงระดับความสูง
Height

6. แสดงข้อมูลภาพถ่ายและแผนที่
Map

7. มีเข็มทิศ (ภาพถ่ายฯ และทิศเหนือ)
compass

8. แชร์แผนที่
Share

9. นำทาง
Navigation

จะขาดไปก็แต่ Geotagging ที่ถ่ายรูปแล้วติดค่าพิกัด พร้อม Upload ไปแสดงบน Google Earth ได้ ถ้าทำได้ในเวอร์ชั่นต่อๆ ไป ก็จะสุดยอดมากเลย ใครสนใจลองดาวน์โหลดไปใช้งานดูครับ

แนะนำ USB OTG

อาจจะช้าสักนิดกับคำว่า USB OTG (On-The-Go) แต่ก็ยังไม่สายที่จะทำความรู้จัก ว่ามันคืออะไร พอดีเข้าไปอ่านข่าว IT ตามบล็อกต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วไปบนอินเตอร์เน็ต ก็ไปเจอกับคำนี้ สงสัยว่ามันแตกต่างจาก micro USB, mini USB, USB สีเหลือง (ชาร์ตไฟ), USB สีน้ำเงิน (3.0), และ USB สีดำ (2.0) ยังไง ก็พยายามไปหาคำตอบมาจนได้ ไม่งั้นนอนไม่หลับ ไปเจอคำตอบที่ชัดเจนมากที่บล็อก Sleeping for less สรุปว่ามันก็คือสาย USB สำหรับ แอนดรอยด์ ที่ด้านหนึ่งเป็น Micro USB ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็น USB ตัวเมีย แค่เห็นรูปก็โอเคแล้ว แต่นี่มีวิดีโอด้วย สุดยอดครับ ต้องขอบคุณเจ้าของบล็อกจริงๆ ครับ ที่ทำให้คืนนี้นอนหลับล่ะ

USB OTG

Geotagging on Android

เมื่อตอนไปออกสำรวจภาคสนาม ที่ผ่านมา ต้องเตรียมอุปกรณ์หลายอย่างที่ใช้ในการระบุตำแหน่งและภาพถ่ายลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ กล้องถ่ายรูปที่ติดเครื่อง GPS (ราคาก็ไม่ใช่น้อย) ซึ่งจะทำให้ได้ภาพและตำแหน่งพร้อมกัน ฟังดูเหมือนจะทำได้ง่าย แต่ในการใช้งานจริงในสนามและการดึงข้อมูลเหล่านั้นมาใช้้งานต่อบนเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้ข้อมูลสำเร็จรูปที่พร้อมใช้ ไม่ได้ง่ายเลย ต้องผ่านขั้นตอนและโปรแกรมหลายตัว นอกจากนั้นตำแหน่งที่ได้รับจาก GPS พร้อมการถ่ายภาพก็ไม่ได้ติดมาทุกครั้ง บางทีก็สายต่อหลุด หลวม เครื่องเสีย ลืมเปิด รับสัญญาณไม่ได้ หรือรอรับสัญญาณนาน ทำให้พลาดโอกาสที่จะได้ตำแหน่ง ณ ขณะนั้น  และหลังจากที่ได้ข้อมูลภาพและตำแหน่งมาแล้ว (แยกไฟล์กัน) จะต้องนำข้อมูลมารวมกันโดยอาศัยเวลาที่ตรงกัน ที่ได้มีการกำหนดไว้แต่แรกแล้ว ข้อมูลสุดท้ายที่ได้จะเป็น Shapefile ของตำแหน่งที่ถ่ายรูปพร้อมไฟล์ลิงค์รูปใน Attribute

ที่กล่าวมาทั้งหมด อยากจะแนะ GeoCam Free ซึ่งเป็น Apps ใน Market ที่เป็นประเภท Geotagging ไว้เสนอเป็นทางเลือก หากมีีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ ออกสำรวจไม่มาก เหมาะอย่างยิ่งสำหรับนักศึกษาที่ทำตัวจบ ซึ่งความถูกต้องก็ไม่ได้ขี้เหร่มาก 10 – 15 เมตร (ขึ้นอยู่กับ GPS ในยี่ห้อของ Smart Phone ด้วยครับ)  ผลลัพธ์ก็ได้รูปภาพที่มีค่าตำแหน่งหรือพิกัดเช่นเดียวกัน App นี้ใช้งานง่าย มีการแสดงทิศทาง พิกัด ค่า pitch ค่า roll บนภาพเลย และสามารถส่งออกข้อมูลไปเป็นไฟล์ KMZ เพื่อนำไปเปิดบน Google Earth ได้ด้วย  ที่ชอบที่สุดคือ ข้อมูลตำแหน่งและรูปภาพ รวมอยู่ในไฟล์เดียวกัน

หน้าจอบันทึกภาพ

เลือกแสดง/ไม่แสดง ข้อมูลกราฟิก

แสดงข้อมูลบน Google Map

บันทึกไฟล์ KMZ เพื่อนำไปเปิดกับ Google Earth

Disaster Alerts – รายงานข้อมูลภัยพิบัติทั่วโลก

กระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกภายใต้ ภาวะโลกร้อน เริ่มปรากฎให้เห็นภัยทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นแบบไม่ปกติ ที่มีความถี่ ความรุนแรงมากขึ้น และกระจายในทุกประเทศทั่วโลก

เหตุการณ์เหล่านี้เป็นจุดที่ทุกคนต้องให้ความสนใจและใส่ใจ เพราะเป็นสิ่งใกล้ตัวและมีโอกาสเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในพื้นที่ที่เราอาศัยอยู่ มีหลายหน่วยงาน หลายสำนักที่พยายามพยากรณ์และแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์เหล่านี้ ถูกบ้างผิดบ้าง ยังไงเราก็คงต้องใช้ความคิดพิจารณาถึงความสมเหตุสมผล จะเชื่อทั้งหมดก็จะเวอร์ไป จะไม่เชื่อก็มีโอกาสเสี่ยง ทั้งนี้ก็ต้องดูข้อมูลจากสื่อต่างๆ ประกอบไปด้วย ซึ่งปัจจุบันก็มีสื่่อเยอะกว่าสมัยก่อนมากมายนัก โดยเฉพาะสื่อทางอินเตอร์เน็ต ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายจากอุปกรณ์ต่างๆ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค เน็ตบุ๊ค แท็บเล็ต หรือ สมาร์ทโฟน

Application ตัวหนึ่งที่น่าสนใจ บน Android และ iphone ซึ่งรายงานข้อมูลเหตุการณ์ภัยพิบัติทั่วโลกแบบ เกือบ Real Time คือ Disaster Alerts สามารถดาวน์โหลดผ่าน Apps Store ของแต่ละค่ายได้เลย

App ตัวนี้จะแบ่งกลุ่มของภัยพิบัติออกเป็นหลายกลุ่ม เช่น น้ำท่วม แผ่นดินไหว พายุ ภูเขาไฟระเบิด ไฟป่า เป็นต้น โดยแสดงผลเป็นตำแหน่งของทุกกลุ่มบนแผนที่ของ Google (อีกแล้ว)

หากต้องการดูรายการเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล่าสุดก็สามารถเลือกแบบ Alerts ได้

ในแต่ละเหตุการณ์จะแสดงข้อมูลแบบละเอียดว่าเกิดขึ้นที่ไหน เมื่อไร ข้อมูลมาจากไหน ซึ่งจะแสดงเป็นแผนที่และข้อมูลสถิติ นอกจากนั้นในอดีตที่ผ่านมาพื้นที่หรือประเทศที่เกิดเหตุการณ์นี้มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นมาบ้าง ก็สามารถทราบได้เช่นกัน


Traffy : ระบบประเมินและรายงานสภาพจราจร

เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาได้เข้าร่วมงานการแถลงข่าวและเสวนา การประยุกต์ใช้ข้อมูลจราจรอย่างสร้างสรรค์ในโลกไอที สำหรับองค์กรและนักพัฒนา โดย NECTEC ซึ่งถือว่าเป็นงานที่ดี มีประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นการใช้ข้อมูลจราจรต่างๆ จากระบบ Traffy ผ่านทาง Traffy API มาพัฒนาต่อยอดในด้านต่างๆ ตามต้องการของบุคคลทั่วไปหรือองค์กรต่างๆ เช่น ระบบขนส่ง การเดินทาง การท่องเที่ยว รวมไปถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมในแง่ของการประหยัดพลังงาน

หน้าที่หลักของ Traffy API คือ การเป็นสื่อกลางระหว่างข้อมูลจราจรและนักพัฒนาที่ต้องการนำข้อมูลไปต่อยอด โดยข้อมูลที่นักพัฒนาสามารถนำข้อมูลไปพัฒนา เช่น
– getCCTV รายชื่อและตำแหน่งของกล้องวงจรปิด
– getCCTVimg แสดงภาพจากกล้องวงจรปิด
– getIncident รายงานข่าวจราจร
– getVMS ข้อมูลป้ายสภาพจราจร
– getTrafficCongestion รายงานสภาพจราจรของถนน
ฯลฯ

หากไม่สนใจในการนำ Traffy API ไปพัฒนา ก็สามารถใช้งาน Traffy ได้ตามปกติ ซึ่งทาง NECTEC
ได้เปิดช่องทางการเข้าถึงระบบนี้ใน 5 รูปแบบ ได้แก่

1. Traffy Web

2. Traffy on Mobile and Applications
– Traffy on Smart Phone http://www.traffy.in.th
– Traffy on Wap http://www.traffy.in.th
– Traffy iPhone Application http://itunes.apple.com/se/app/traffy/id399332179?mt=8

3. Traffy on Social Networks
Traffy on Twitter

Traffy Facebook Page

4. Traffy Social Eyes

5. Traffy Information Portal

สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม ก็เข้าไปดูในเว็บไซต์ครับ มีข้อมูลทุกอย่าง เป็นประโยชน์จริง ส่วนตัวแล้วได้ใช้ระบบ Traffy ผ่านทาง Smart Phone เพราะสะดวกและรวดเร็ว ไม่จำเป็นต้องใช้งาน 3G เพียงแค่ Edge ก็สามารถติดตามการจราจรได้แล้วครับ ไว้ช่วยวางแผนการเดินทางก่อนจะไปที่นั่นที่นี่ ช่วยได้เยอะครับ ใครถนัดของเข้าถึงแบบไหนก็ทดลองใช้งานกันดูได้ครับ

NDrive กับ Google Map

ในระบบปฏิบัติการ Andriod ของ Google มี Application หลายตัวเกี่ยวกับการนำทาง ซึ่งได้ทดลองใช้งานมา 2 ตัว ตามคำแนะนำจากเพื่อนๆ คือ NDrive และ Google Map หลังจากใช้งานมาซักช่วงหนึ่ง พบว่า NDrive มีแผนที่มาให้ใช้งานแบบพร้อมใช้ คือ ติดตั้งมาพร้อมกันโปรแกรม โปรแกรมมี Interface ที่สวยงาม การใช้งานง่าย มีตำแหน่งสถานที่สำคัญหลายแห่ง และไม่ต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเพื่อแสดงแผนที่ เพียงแค่เปิด GPS ก็สามารถใช้งานได้ กำหนดพื้นที่เป้าหมายและก็ Go To ไปได้เลย

ส่วน Google Map มี Interface ราบง่าย การใช้งานแผนที่ การค้นหาข้อมูลและตำแหน่งต่างๆ จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตตลอดเวลา ถ้าอินเตอร์เน็ตช้า เช่น GPRS หรือ EDGE ต้องเสียเวลาในการประมวลผลนิดหนึ่ง แต่ถ้าเป็นกลุ่ม WIFI หรือ 3G ก็จะทำงานได้เร็วขึ้น แต่ก็จะมีการจำกัดสำหรับพื้นที่ให้บริการ ไม่ครอบคลุมพื้นที่กว้างเหมือนสองแบบแรก

ดูๆ แล้วเหมือน NDrive จะดีกว่า Google Map ทุกอย่าง แต่ส่วนตัวผมชอบแบบหลังมากกว่า เพราะให้ความถูกต้องในเรื่องของการนำทางได้เป็นอย่างดีและมีความถูกต้อง นอกจากนั้น ยังมี Google Lab ที่ให้เลือกติดตั้ง Plugin ทางแผนที่ เช่น เครื่องมือวัดระยะทาง มาตราส่วน เป็นต้น ที่ดีไปกว่านั้นคือ มีรูปแบบการแสดงแผนที่หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็น ภาพถ่ายจากดาวเทียม สภาพภูมิประเทศ ดูสภาพการจราจร หรือแจ้งบอกตำแหน่งที่อยู่ปัจจุบันไปยังกลุ่มเพื่อน ทำให้การใช้งานเป็นอะไรได้มากกว่าการนำทางครับ