การใส่ค่าพิกัดให้กับข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียม

มีหลายวิธีที่จะใส่ค่าพิกัดให้กับข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมจากแหล่งข้อมูลอ้างอิงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลถนน แผนที่สภาพภูมิประเทศ ข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศ หรือข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมด้วยกัน ซึ่งก็เช่นเดียวกันคือมีหลากหลายโปรแกรมที่สามารถทำได้ง่ายและรวดเร็ว ถ้ามีข้อมูล 1 หรือ 2 ภาพก็ไม่ใช่ปัญหาอะไร แต่ถ้าเป็นพันภาพล่ะ ก็ต้องมานั่งใส่ค่าพิกัดกันนานหลายเดือน ในเอกสารนี้เพียงแต่ต้องการนำเสนอวิธีการแบบหนึ่งที่ใช้ในการใส่ค่าพิกัดภาพแบบกึ่งอัตโนมัติ ให้กับข้อมูลภาพตัวอย่าง (Quick Look) ของข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียม LANDSAT5 เพื่อที่จะสามารถนำไปดูได้ในเบื้องต้นว่า Path/Row ที่ต้องการมีปริมาณเมฆมากน้อยแค่ไหน ในบริเวณพื้นที่ข้างเคียงเป็นยังไงบ้าง วิธีการนี้อาจจะไม่ใช่วิธีการที่ดีที่สุด แต่ก็เสนอไว้เป็นทางเลือก ใช้เวลาทำประมาณ 1 ชั่วโมงสำหรับการใส่ค่าพิกัดจำนวน 2,500 ภาพ จริงๆ จะกี่ภาพก็ใช้เวลาประมาณนี้ ซึ่งการทำแบบนี้ไม่ต้องการความถูกต้องมาก เพียงแค่ใช้ดูคร่าวๆเฉยๆ โดยเน้นที่ตำแหน่งของ Path/Row ในข้อมูลภาพเป็นหลัก ในเอกสารนี้จะทำเพื่อเป็นตัวอย่างจำนวน 25 ภาพเท่านั้น

ข้อมูลและโปรแกรมที่ใช้ประกอบไปด้วย 3 อย่าง คือ
1. ข้อมูลภาพตัวอย่างที่ไม่มีค่าพิกัด แต่มีชื่อเป็นเลข Path/Row กับวันที่ถ่ายภาพ

2. ดัชนี Path/Row ของข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียม LANDSAT5 ทั่วโลก ซึ่งมีค่าพิกัดเป็น Latitude, Longitude
(ดาวน์โหลดจากเว็บไซด์ http://landsat.usgs.gov/tools_wrs-2_shapefile.php เลือกที่เป็นแบบ wrs2_descending)

3. โปรแกรม ArcMap, ArcView, MS Excel, ACDSee และ FWTools (http://fwtools.maptools.org/)
ผลลัพธ์ที่ได้จากการค่าใส่พิกัดดังนี้

วิธีการทำในเบื้องต้นมีดังนี้
1. เลือกตัวเลข Path/Row ที่ต้องการจากข้อมูลภาพตัวอย่าง
2. เลือกดัชนี Path/Row (Shapefile) จากข้อมูลภาพตัวอย่าง
3. คำนวณค่าพิกัดทั้ง 4 มุมของกรอบภาพในแต่ละดัชนี Path/Row
4. คำนวณค่าพิกัดทั้ง 4 มุมของเนื้อภาพในแต่ละดัชนี Path/Row
5. ปรับข้อมูลภาพตัวอย่างทุกภาพให้มีขนาดเท่ากัน
6. ใส่ค่าพิกัดให้กับข้อมูลภาพตัวอย่าง

เปิดเอกสาร

ใส่ความเห็น